ICESCR (International Covenant on Economic, Social and Cultural Rights): Article 13 and 14
กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม, ประเทศไทยเข้าเป็นภาคีเมื่อ ๕ กันยายน ๒๕๔๒ มีผลบังคับใช้เมื่อ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๒
เป็นกติกาลักษณะสนธิสัญญา 1 ใน 9 ฉบับ ด้านสิทธิมนุษยชน ระหว่างประเทศในกลุ่มสมาชิกสหประชาชาติ ซึ่งในฉบับ ICESCR นี้ ที่ Article 13 และ14 จะกล่าวถึงข้อปฏิบัติในด้านนโยบายการศึกษาของทุกประเทศที่ลงนามไว้ ผูกพันในฐานะภาคี อันมีทั้งหมด 164 ประเทศด้วยกัน ที่กติกานี้จะต้องนำไปปฏิบัติ ไม่ว่าจะเป็นฐานการออกแบบกฎหมายแม่บทหรือกฎหมายลูก แน่นอนว่ารวมทั้งรัฐธรรมนูญอันเป็นกฎหมายแม่บทหลักของทุกประเทศ
- เอกสารเผยแพร่กติกา ICESCR ไฟล์ PDF ฉบับภาษาอังกฤษ https://drive.google.com/file/d/0Bzs7ZU6iMfUPMDkzSVN0OG04Y28/view?usp=sharing
- เอกสารเผยแพร่กติกา ICESCR ไฟล์ PDF ฉบับภาษาไทย https://drive.google.com/file/d/0Bzs7ZU6iMfUPTmdZcjZ6S0dRSUU/view?usp=sharing
Article 13 และ 14
ในถ้อยคำภาษาอังกฤษเทียบกับฉบับภาษาไทย
ข้อสังเกตเบื้องต้น - ส่วนสำคัญอยู่ใน Article 13 ข้อ 3 และ 4 ซึ่งระบุไว้ในทางถ้อยคำและความหมายเลยว่า ไม่จำเป็นว่าจะต้องเรียนในโรงเรียนที่รัฐจัดไว้ให้ และทำให้คำว่า Compulsory หรือภาคบังคับนั้น กลายเป็นเรื่องทางสิทธิมนุษยชน (ตามกลุ่มของสนธิสัญญา) ของเยาวชนที่ควรต้องได้รับการจัดการศึกษา ซึ่งทางปฏิบัติก็คือ กติกานี้บังคับให้ตั้งแต่พ่อแม่ หรือผู้ปกครองลักษณะอื่นตามกฎหมาย (parents and legal guardians) มีสิทธิที่จะเลือกโรงเรียนสำหรับเด็กของตน นอกจากที่จัดตั้งโดยเจ้าหน้าที่รัฐ โดยที่ถ้าหากผู้ปกครองไม่ได้ทำการเลือกไว้ก่อน ก็ให้รัฐมีหน้าที่จัดการศึกษาให้แก่เด็กแทน
คือเด็กจะไม่ได้รับการจัดการศึกษาให้นั้น ไม่ได้ จะต้องมีการจัดให้ในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง ที่กฎหมายของประเทศสนับสนุนรายละเอียดไว้ (ซึ่งสำหรับประเทศไทย คือพ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และกฎกระทรวงต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับรูปแบบการจัดการศึกษานั้น
ซึ่งก็คือ สามารถ "เลือกจัดการศึกษาให้กับเด็กของตนได้หลายรูปแบบ", ซึ่งในไทย ณ ปัจจุบัน ถือเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานตั้งแต่ ครอบครัว ชุมชน ขึ้นมาจนถึงสถานศึกษาที่จัดในภาคธุรกิจเอกชน ไม่ใช่เพียงระบบโรงเรียน แต่มีระบบการจัดฯ หลายรูปแบบด้วยกัน
โดยที่ใจความรวมไว้ในกติกานี้ ภายในคำว่า a system of schools ..ซึ่งรัฐมีหน้าที่ต้องสนับสนุน ส่งเสริม ช่วยเหลือในการพัฒนา ดังที่กำหนดไว้ในข้อ 2 (e) (จ)
Article 13
1. The States Parties to the present Covenant recognize the right of everyone to education. They agree
that education shall be directed to the full development of the human personality and the sense of its
dignity, and shall strengthen the respect for human rights and fundamental freedoms. They further
agree that education shall enable all persons to participate effectively in a free society, promote
understanding, tolerance and friendship among all nations and all racial, ethnic or religious groups, and
further the activities of the United Nations for the maintenance of peace.
๑. รัฐภาคีแห่งกติกานี้รับรองสิทธิของทุกคนในการศึกษา รัฐภาคีเห็นพ้องกันว่าการศึกษาจะต้องมุ่งให้เกิดการพัฒนาบุคลิกภาพของมนุษย์และความสำนึกในศักดิ์ศรีของตนอย่างบริบูรณ์ และจะต้องเพิ่มพูนการเคารพในสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐาน รัฐภาคีเห็นพ้องกันอีกว่า การศึกษาจะต้องทำให้ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในสังคมอย่างมีประสิทธิภาพ จะต้องส่งเสริมความเข้าใจ ความอดกลั้นและมิตรภาพระหว่างชาติ และกลุ่มเชื้อชาติ ชนกลุ่มน้อยหรือกลุ่มศาสนาทั้งปวง และสานต่อไปถึงกิจกรรมของสหประชาชาติในการธำรงไว้ซึ่งสันติภาพ
2. The States Parties to the present Covenant recognize that, with a view to achieving the full
realization of this right:
๒. รัฐภาคีแห่งกติกานี้รับรองว่า เพื่อที่จะทำให้สิทธินี้เป็นจริงโดยบริบูรณ์
(a) Primary education shall be compulsory and available free to all;
ก) การศึกษาขั้นประถมจะต้องเป็นการศึกษาภาคบังคับและจัดให้ทุกคนแบบให้เปล่า
(b) Secondary education in its different forms, including technical and vocational secondary education,
shall be made generally available and accessible to all by every appropriate means, and in particular
by the progressive introduction of free education;
(ข) จะต้องจัดการศึกษาขั้นมัธยมในรูปแบบต่าง ๆ รวมทั้งการศึกษามัธยมทางเทคนิคศึกษาและ
อาชีวศึกษา ให้มีขึ้นโดยทั่วไป และให้ทุกคนมีสิทธิได้รับโดยวิธีการที่เหมาะสมทุกทาง และโดยเฉพาะอย่างยิ่งโดยการนำการศึกษาแบบให้เปล่ามาใช้อย่างค่อยเป็นค่อยไป
(c) Higher education shall be made equally accessible to all, on the basis of capacity, by every
appropriate means, and in particular by the progressive introduction of free education;
(ค) ทุกคนจะต้องสามารถได้รับการศึกษาขั้นอุดมศึกษาอย่างเท่าเทียมกันบนพื้นฐานของความสามารถ
โดยวิธีการที่เหมาะสมทุกทาง และโดยเฉพาะอย่างยิ่งโดยการนำการศึกษาแบบให้เปล่ามาใช้อย่างค่อยเป็นค่อยไป
(d) Fundamental education shall be encouraged or intensified as far as possible for those persons who
have not received or completed the whole period of their primary education;
(ง) การศึกษาขั้นพื้นฐานจะต้องได้รับการสนับสนุนหรือส่งเสริมให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้สำหรับผู้ที่
ไม่ได้รับหรือเรียนไม่ครบตามช่วงระยะเวลาทั้งหมดของการศึกษาขั้นประถม
(e) The development of a system of schools at all levels shall be actively pursued, an adequate
fellowship system shall be established, and the material conditions of teaching staff shall be
continuously improved.
(จ) จะต้องดำเนินการพัฒนาระบบโรงเรียนทุกระดับอย่างแข็งขัน ให้มีระบบทุนการศึกษาที่เพียงพอ
และปรับปรุงสภาพของวัสดุประกอบการสอนของครูอย่างต่อเนื่อง
3. The States Parties to the present Covenant undertake to have respect for the liberty of parents and,
when applicable, legal guardians to choose for their children schools, other than those established by
the public authorities, which conform to such minimum educational standards as may be laid down or
approved by the State and to ensure the religious and moral education of their children in conformity
with their own convictions.
๓. รัฐภาคีทั้งหลายแห่งกติกานี้รับที่จะเคารพเสรีภาพของบิดามารดาและผู้ปกครองตามกฎหมายในกรณีที่มี ในการเลือกโรงเรียนสำหรับเด็กของตน นอกจากที่จัดตั้งโดยเจ้าหน้าที่รัฐ เช่นที่เป็นไปตามมาตรฐานการศึกษาขั้นต่ำที่รัฐกำหนดไว้หรือให้ความเห็นชอบเพื่อประกันให้การศึกษาทางศาสนาและศีลธรรมของเด็กเป็นไปโดยสอดคล้องกับความเชื่อถือของตน
4. No part of this article shall be construed so as to interfere with the liberty of individuals and bodies
to establish and direct educational institutions, subject always to the observance of the principles set
forth in paragraph I of this article and to the requirement that the education given in such institutions
shall conform to such minimum standards as may be laid down by the State.
๔. ไม่มีส่วนใดของข้อนี้จะแปลไปในทางก้าวก่ายเสรีภาพของปัจเจกชน และองค์กรในการจัดตั้งและดำเนินการสถาบันการศึกษา ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับการปฏิบัติตามหลักการที่ระบุไว้ในวรรค ๑ ของข้อนี้ และข้อกำหนดที่ว่า การศึกษาในสถาบันเช่นว่าจะต้องสอดคล้องกับมาตรฐานขั้นต่ำตามที่รัฐได้กำหนดไว้
Article 14
Each State Party to the present Covenant which, at the time of becoming a Party, has not been able to
secure in its metropolitan territory or other territories under its jurisdiction compulsory primary
education, free of charge, undertakes, within two years, to work out and adopt a detailed plan of
action for the progressive implementation, within a reasonable number of years, to be fixed in the
plan, of the principle of compulsory education free of charge for all.
รัฐภาคีแต่ละรัฐแห่งกติกานี้ ซึ่งในเวลาเข้าเป็นภาคียังไม่สามารถจัดให้มีการประถมศึกษาภาคบังคับแบบให้เปล่าในเขตเมืองและเขตอื่น ๆ ภายใต้เขตอำนาจของตนรับที่จะหาทางและจัดทำแผนปฏิบัติการโดยละเอียดเพื่อทำให้เกิดความคืบหน้าในการปฏิบัติตามกติกาฉบับนี้ภายในเวลา ๒ ปี และกำหนดไว้ในแผนภายในระยะเวลาที่สมเหตุสมผล ซึ่งหลักการในการจัดการศึกษาภาคบังคับแบบให้เปล่าสำหรับทุกคน
- - - - -
ในบทความโอกาสต่อไป จะเป็นข้อสังเกตเรื่องการใช้คำในเอกสารฉบับภาษาไทยครับ เนื่องจากหลายคำมีผลทางความเข้าใจของบุคลากรของรัฐที่ต้องรับการติดต่อกับประชาชน อาจเกิดปัญหาในการตีความหมายและความเข้าใจ ดังที่หลายท่านได้พบเจอมาด้วยตนเอง ซึ่งรวมถึงบุคลากรวิชาชีพ
Comments
Post a Comment